arthoho66 commited on
Commit
f306e8d
·
1 Parent(s): ecb028e

Upload 2 files

Browse files
Files changed (2) hide show
  1. train_asr.csv +104 -0
  2. voice_test.csv +24 -0
train_asr.csv ADDED
@@ -0,0 +1,104 @@
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1
+ origin
2
+ บทบรรณาธิการ เนติบัณฑิต ภาค ๒ สมัยที่ ๗๑ คำถามข้อที่ ๑ คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลพิพากษายกฟ้องโดยไม่มีการไต่สวนมูลฟ้องก่อนตาม ป.วิ.อาญา. มาตรา ๑๖๒(อนุ ๑) เป็นการชอบหรือไม่
3
+ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๘๘/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า ""การที่ศาลรับฟ้องไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องนั้นไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวนมูลฟ้องหรือต้องวินิจฉัยว่าฟ้องมีมูลและมีประทับรับฟ้องไว้พิจาณราก่อนเสมอไป
4
+ เพราะ หากศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดคดีขาดอายุความหรือมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษให้ศาลยกฟ้องปล่อยตัวจำเลยไป ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘๕
5
+ เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำทั้งหลายของจำเลยตามฟ้องพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง ศาลชอบที่จะยกฟ้องโดบไม่จ้เป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องและประทับรับฟ้อง
6
+ คำถามข้อที่ ๒ ผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายจะมีอำนาจเข้าร่วมโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีส่วนอาญาหรือยื่นคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนแพ่งหรือไม่ ผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ผู้มีอำนาจจัดการแทนมีอำนาจเข้าร่วมกับอัยการในคดีส่วนอาญาหรือยื่นคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนใรส่วนแพ่งหรือไม่
7
+ ดูคำตอบครับ คำพิพากษฎีกาที่ ๘๐๐๑-๘๐๐๒/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า ""ผู้ตายสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กับจำเลย ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย มารดาของผู้ตายไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตาย จึงไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญา
8
+ ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาอาญามาตรา ๔๔/๑เป็นบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ที่จะช่วยผู้ที่ได้รับความเสียหายทางแพ่งให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาจะได้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน โดยให้ผู้ได้รับความเสียหายยื่นคำร้องเข้ามาในคดีอาญา
9
+ แม้ผู้ตายจะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยแต่ความตายก็เพราะเหตุเกิดจากการกระทำของจำเลยกับพวก ถือเป็นผู้เสียหาย(ในทางแพ่ง) มีสิทธิ���ี่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้ แม้จะได้ความว่าผู้ตายมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยโดยสมัครใจวิวาททำร้ายกับจำเลยก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น
10
+ ไม่ทำให้สิทธิของผู้เสียหายที่จะขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหมดไป มารดาของผู้ตายและเป็นทายาท เมื่อผู้ตายถูกทำร้ายถึงตายต้องขาดได้อุปการะตามกฎหมายและต้องจัดงานศพ จึงมีสิทธิเรียกค่าปลงศพและค่าขาดได้อุปการะได้ ฎีกานี้มี 2 ส่วน ผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ใช่ผู้เสียหายนิตินัย
11
+ ผู้มีอำนาจจัดการแทนคือมารดาไม่มีอำนาจร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแต่ในส่วนแพ่งตามวิอาญามาตรา ๔๔/๑ สามารถที่จะเรียกค่าเสียหายแทนได้นะครับ เพราะว่าได้บัญญัติเจตนารมณ์ไว้แล้วนะครับ ว่ามาตรานี้จะมีเจตนารมณ์ที่จะให้การดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาจะได้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน
12
+ ซึ่งกับหลักเดิมในเรื่องคำขอตามมาตรา ๔๔/๑ ซึ่งฏีกาก่อนๆนั้นบัญญัติว่าเมื่อไม่เป็นผู้เสียหายในนิตินัยแล้วก็ไม่สามารถที่จะเรียกค่าเสียหาย
13
+ คำถามต่อไปข้อ ๓ ข้อหาความผิดที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาได้หรือไม่
14
+ มาดูคำตอบมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ู๖๕๔๐/ ๒๕๖๐ วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องคดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตามปอวิอาญามาตรา ๒๒๐
15
+ คำถามต่อไปข้อที่ ๔ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์โดยให้เหตุผลว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดแห่งมาตรา 156 วรรคท้ายหรือไม่
16
+ คำตอบมีฎีกาที่ ๗๗๗๗ / ๒๕๖๐ วินิจฉัยว่าการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมของจำเลยโดยให้เหตุผลว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำถือว่าเป็นขั้นตอนเกี่ยวกับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั่นเองถือว่าเป็น ๑๕๑/๑ วรรคท้าย บัญญัติให้เป็นที่สุดจำเลยไม่มีสิทธ��์ฎีกา
17
+ คำถามข้อที่ ๕ ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาคดีอาญาระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์โจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้ขับไล่จำเลยในเรื่องเดียวกันกับคดีส่วนแพ่งที่โจทก์ฟ้องคดีอาญาดังนี้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องสอนหรือไม่
18
+ คำตอบมีคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๔๓ / ๒๕๖๐ วินิจฉัยว่าแม้โจทก์จะฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมกันมากับคดีอาญาแต่ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามปอวิอาญามาตรา ๔๐
19
+ จำเลยจึงมีฐานะจึงมีฐานะเป็นจำเลยในคดีตั้งแต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นและถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามปอวิแพ่งมาตรา ๑๗๒วรรคสองซึ่งคำว่าระหว่างการพิจารณานั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์
20
+ เมื่อโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาคดีอาญาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์และในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยอันเป็นการฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องคดีอาญาของศาลชั้นต้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องสอนกับคดีส่วนแพ่งในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๗๓ วรรคสองอนุมาตราหนึ่ง
21
+ คำถามข้อ ๖ ฟ้องแย้งที่อาศัยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในระหว่างพิจารณาคดีเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่คำตอบฎีกาที่ ๔๕๒/ ๒๕๖๐ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้โจทก์มีอำนาจปกครองเด็กหญิงจอจานระหว่างพิจารณาปรากฏว่าจำเลยจำเลยจึงฟ้องแย้งขอให้ชดใช้ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จำเลยต้องจ่ายไป
22
+ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องที่อาศัยข้อเท็จจริงที่เกิดใหม่ขึ้นระหว่างพิจารณาคดีโดยเป็นการบังคับแก่โจทก์ให้ชำระค่าเสียหายเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ๑๗๗ วรรคสามนี้ฟ้องเดิมเป็นฟ้องโจทก์ฟ้องจำเลยในฟ้องแย้งขอให้ชดใช้ค่าเลี้ยงดูบุตรของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
23
+ ต่อไปคำถามข้อที่ ๗ คำให้การที่จำเลยรับสารภาพตามฟ้องจะหมายความรวมถึงการรับว่าจำเลยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยด้วยหรือไม่เพราะ
24
+ คำตอบมีคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๒๑/ ๒๕๖๑ วินิจฉัยว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาของศาลจังหวัดสุรินทร์จำคุกสี่ปีระหว่างที่จำเลยต้องรับโทษในคดีดังกล่าวจำเลยได้กระทำผิดในคดีนี้อีก
25
+ จำเลยเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายถึงการรับว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องด้วยจึงต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยอีกหนึ่งในสามตามอาญามาตรา ๙๒ จำเลยรับสารภาพตามฟ้องที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด
26
+ คำถามข้อที่ ๘ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน ๑๓ ปีและกระทำอนาจารแก่เด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีโดยเด็กนั้นยินยอมมารดามีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับอัยการหรือไม่หรือมีสิทธิ์ยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนเด็กหรือไม่ประเด็น
27
+ มาดูคำตอบมีคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๕๔ / หกหนึ่งวินิจฉัยว่ากฎหมายมุ่งความรับผิดเมื่อผู้เสียหายอายุไม่เกิน ๑๓ ปีแม้จำเลยจะกระทำโดยผู้เสียหายยินยอมก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุพิจารณาว่ามิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยมารดาจึงขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับอัยการได้
28
+ ส่วนเรื่องคำขอบังคับในส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อาณามาตรา ๔๔/๑ เมื่อการล่วงละเมิดทางเพศดังกล่าวเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๒๐ โจทก์ร่วมจึงมีสิธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมาตรา ๔๔/๑ ได้
29
+ "คำถามข้อต่อไปข้อ ๙ ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาข้อหา ยักยอก ต่อศาลแขวงและขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่ยักยอกเกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ผู้พิพากษาคนเดียวนศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งหรือไม่ คำตอบนะครับ คำพิพากษาฎีกา ๘๑๙๒ / ๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า"
30
+ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ อนุ ๔ วรรคฟนึ่ง กำหนดว่าผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไมเกิน สามแสนบาท ก็ตามแต่ ป.วิ.อาญามาตรา ๔๐ กำหนดว่า การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้
31
+ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบท��ัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวีพิจารณาความแพ่ง เจตนารมของกฎหมายดังกล่าว ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิขแงผู้เสียหายที่ตตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยสะดวกและรวดเร็ว ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิพากษาคดีส่วนแพ่งได้
32
+ คำถามข้อ ๑๐ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นจาม ป.วิ.อาญามาตรา ๒๘๘ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อาญามาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๗๒ (ฆ่าโดยบันดาลโทสะ) ศาลอุทรณ์พิพากษายืน โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อาญามาตรา ๒๘๘ ได้หรือไม่
33
+ คำตอบมีคำพิพากษาฏีกาที่ ๑๙๓๙/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า ตามปัญหาเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น จามป.อาญามาตรา ๒๘๘ โจทก์ฎีกาว่าไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ เป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามคู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๒๒๐ ข้อนี้ให้แยกเป็นสอง ข้อหานะครับก็คือฆ่าผู้อื่นกับฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ
34
+ ฆ่าผู้อื่นเนี่ยมันหนักว่าฆ่าผู้อื่นโดยบัญดาลโทสะโจกท์ฟ้องขอให้ฆ่าผู้อื่นเฉยๆแต่ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยบัญดาลโทสะ ศาลอุทรณ์ยืนเท่ากับว่ายกศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์ยกฟ้องในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นธรรมดานะครับ ให้ลงแค่บัญดาลโทสะโทษเบากว่า คดีนี้จึงเมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่ใช่กระทำบัญดาลโทสะ ก็คือฎีกาว่าเป็นการกระทำตามมาตรา ๒๘๘ ฐานฆ่าผู้อื่นธรรมดาจึงต้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา ๒๒๐ เพราะศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดตามมาตรา ๒๘๘แล้วนะครับ
35
+ ข้อ ๑๑ นะครับ การถอนฟ้องคดีอาญา โจทก์จะต้องทำคำร้องขอถอนฟ้องเป็นหนังสือมายื่นต่อศาลหรือไม่ และการขอถอนฟ้องอันสืบเนื่องมาจากข้อตกลงหรือการท้ากันในคดีแพ่งจะถือเป็นการท้ากันในคดีอาญาหรือไม่ ประเด็นแรกถอนฟ้องในคดีอาญาต้องท้เป็นหนังสือไหม ประเด็นที่สองท้ากันในคดีแพ่งจะถือเป็นการท้ากันในคดีอาญาไหม
36
+ มาดูคำตอบฎีกา๒๖๕๔/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า การถอนฟ้องในคดีอาญาหาจำเป็นต้องทำคำร้องเป็นหนังสือมายื่นต่อศาลแต่เพียงวิธีเดียวไม่ทั้ง ก็คือไม่ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลมีวิธีอื่นที่จะสามารถถอนฟ���องได้นะครับ นี้ตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า คำร้องขอถอนฟ้องในคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่จะเห็ยสมควร
37
+ เท่ากับเป็นดุลพินิจของศาลกำหนดให้ถอนฟ้องโดยวิธีใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรนะครับ ทั้งข้อตกลงท้ากันในคดีแพ่งก็ไม่ถือท้ากันในคดีอาญาคดีนี้มันมีการท้ากันในคดีแพ่งก่อนแล้วว่าหากชนะท้าคดีอพ่งนั้นจะมาถอนฟ้องคดีอาญานะครับเป็นการท้าในคดีแพ่ง แล้วมีผลในคดีอาญาหากเป็นไปตามคำท้าจะเป็นผลสือเนื่องให้ถอนฟ้องคดีอาญาเมื่อคดีแพง่นั้นเป็นไปตามคำท้าอล้ว ย่อมสืบเนื่องเป็นผลให้ถอนฟ้องคดีอาญาด้วยนะครับ
38
+ คำถามข้อ ๑๒ ถ้อยคำของผู้ถูกจับรับว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของตนที่ได้จำหน่ายให้แก่สายลับ รับว่ายาบ้าเป็ยของตนที่ได้จำหน่ายให้สายลับและรับธนบตรจำนวนดังกล่าวได้มาจากจำหน่ายยส ก็คือเงินนั้นเป็นคนที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเป็นถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดอันจะต้องมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือไม่ ต้องห้ามรับฟังหรือไม่ คดีนี้เป็นความลับหรือไม่
39
+ มีฎีกา ๕๐๒๘/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่าเป็นถ้อยยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำผิด เป็รคำรับว่าตนได้กระทำผิดนะครับ ห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๘๔ วรรคท้าย
40
+ คำถามข้อที่ ๑๓ จำเลยที่ ๑อ้างตนเบิกความเป็นพยานปรักปรำหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ ๒ หาได้ใช้สิทธิซักค้านจำเลยที่ ๑ คำเบิกความของจำเลยที่ ๑ จะถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๒๓๒ หรือไม่
41
+ มาดูตรงคำตอบ กาที่ ๖๑๓๔/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่ากรณีตามปัญหาเป็นกรณีที่จำเลยที่ ๑อ้างตนเป็นพยาน ไม่ใช่กรณีที่โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานนะครับ จำเลยอ้างตนเองเป็ยพยานนะครับไม่ใช่โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๓๒๓
42
+ ต่อไปคำถามข้อที่ ๑๔ นะครับ คำให้การจำเลยว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพ ฐานลักทรัพย์ตามฟ้องโจทก์รับสารภาพลักทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ จะถือว่าจำเลยรับด้วยว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษด้วยหรือไม่
43
+ มากดูฎีกาที่ ๕๓๒๘/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า ถือว่าจำเลยรับสารภาพฐานลักพรัทย์ตามฟ้อง ซึ่งเป็นคำรับสารภาพว่าได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้องเท่านั้น รับแค่ฐานลักทรัพย์เท่านั้นครับ มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเคยต้องโทษให้พ้นคดีที่โทจก์ขอให้เพิ่มโทษ ไม่ได้รับด้วยว่าต้องโทษและเคยรับโทษในคดีที่ขอให้เพิ่มโทษ โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฎข้อเท็จจริงตามคำฟ้องขอให้เพิ่มโทษด้วย
44
+ ฎีกานี้แตกต่างจากข้อ ๗ นะครับ ซึ่งในข้อ ๗ เนี่ย ฎีกาที่ ๔๕๒๑/๖๑ เนื่ยจำเลยได้ให้รับการสารภาพตามร้องแต่ฎีกานี้จำเลยรับสารภาพฐานลักทรัพย์นะครับ ต่างกันตรงนี้นะครับ
45
+ ต่อไปคำถามข้อที่ ๑๕ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๗๙ วรรคสาม รวม ๒ กระทง จำคุกกระทงละ ๕ ปี ศาลอุทรณ์พิพากษายืนจำเลยฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่
46
+ ดูตรงคำตอบนะครับฎีกาที่ ๑๘๙๐/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยตาม ป.อาญามาตรา ๒๗๙ วรรคแรก รวม ๒ กระทง กระทงละ ๕ ปี รวมจำคุก ๑๐ ปี ศาลอุทรณ์พิพากษายืน และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.ว.อาญามาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง คดีนี้ก็การที่จะพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาหรือไม่ก็พิจารณารายกระทงไปนะครับเมื่อแต่ละกระทงไม่เกินห้าปีก็ต้องห้ามฎีกา
47
+ ข้อ ๑๖ คำถามราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา ศาลอุทรณ์พิพากษายืน ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจส่วนคดีแพ่งโดยลำพังไว้พิจารณาหรือไม่ ศาลอุทรณืพิพากษายืน ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งโดยลำพังไว้พิจารณาหรือไม่
48
+ มาดูคำตอบ ฎีดาที่ ๔๒๙๒/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า เมื่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาเฉพาะคดีอสญา ไส่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มี่มูลและพิพากษายกฟ้องคดีอาญา อันมีผลเป็นการไม่รับคดีอาญาไว้พิจารณา ศาลลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาโดยลำพัง ศาลลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาโดยลำพัง ต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ตาม ป.วิ.อาญามาตร ๑๕๑
49
+ คำถามข้อที่ ๑๗ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโ���ทก์โดยวินิฉัยว่า จำเลยยังมิได้กระทำการใดทีเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ฟ้องแย้งของจำเลยด้วยหรือไม่
50
+ มาดูคำตอบฎีกาที่ ๒๑๒๗/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยยังไม่ได้กระทำการใดที่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมต้องตกไปด้วย เพราะการฟ้องแย้งนั้นจะมีได้จะต้องมีฟ้องเดิมและโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ด้วย
51
+ ฟ้องตกไปด้วย เพราะว่าฟ้องเดิมนั้นไม่มีตัวโจทก์เดิม ละ ครับ ไม่มีตัวโจท์เดิม ไม่มีฟ้องเดิมอยู่ ฟ้องแย้งจึงตกไปด้วย
52
+ คำถามข้อที่ ๑๘ คําฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งคืน เรียกเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งคืน จําเลยยื่น คําให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์เพิกถอนคําสั่งที่ให้จําเลยออกจากราชการและมีคําสั่งให้โจทก์ กลับเข้ารับราชการ ดังนี้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับคําฟ้องเดิมหรือไม่
53
+ คำตอบ ฎีกาที่ ๗๕๐๙/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า “คําฟ้องเดิมที่เรียกเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งคืนนั้น เป็นเรื่องลาภมิควรได้ เป็นเรื่องลาภมิควรได้ แต่ตามฟ้องที่ให้โจทก์เพิกถอนคําสั่งออกจากราชการและมีให้โจทก์ กลับเข้ารับราชการนั้น เป็นเรื่องข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคําสั่งในทางบริหารของ เป็นเรื่องข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคําสั่งในทางบริหารโจทก์ จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมนะครับ เป็นเรื่องอื่น
54
+ คำถามข้อที่ ๑๙ คําขอท้ายฟ้องของโจทก์ว่าให้จําเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ แทนโจทก์ ศาลมีอํานาจกําหนดให้จําเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ขอให้ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ ศาลจะมีอำนาจให้จ่ายค่าดำเนินคดีได้มั้ย
55
+ มาดูคำตอบที่ ฎีกา.๗๕๐๐/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า “ตาม ป.วิ.แพ่ง.มาตรา ๑๔๙ กําหนดว่า ค่าฤชาธรรมเนียม นั้นหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีด้วย ค่าฤชาธรรมเนียม นั้นหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีด้วย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจกําหนดให้จําเลยชดใช้ค่าใช้จ่าย ในการดำเนินคดีแก้โจทก์ได้ตามตาราง ๗ อดังนี้ ป.วิ.แพ่ง. ๑๖๑ นะครับ
56
+ คำถามข้อที่ ๒๐. คู่ความแถลงว่า จะจัดทําบันทึ��คําเบิกความแทนการซักถามมายื่นต่อศาลและ ส่งให้อีกฝ่ายก่อนสืบพยานภายในระยะเวลาตามกฎหมาย และศาลชั้นต้นอนุญาต แต่โจทก์ส่ง บันทึกคําเบิกความของพยานให้ฝ่ายจําเลยเพียงปากเดียว ส่วนพยานอีก ๒ ปาก โจทก์นำพยานมาเบิกความโดยไม่ได้จัดทําบันทึกเบิกความส่งให้จําเลยตามที่แถลงต่อศาลและศาล อนุญาต คําเบิกความของพยานโจทก์ ๒ ปากดังกล่าว ต้องห้ามมิให้รับฟังหรือไม่
57
+ ทวนนคำตอบ ฎีกาที่.๔๑/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า “การที่โจทก์ส่งบันทึกคําเบิกความของ ว. ให้ฝ่ายจําเลยเพียง ปากเดียว ส่วนพยานอีก ๒ ปาก โจทก์นําพยานมาเบิกความโดยไม่ได้จัดทําบันทึกคําเบิกความส่งให้จําเลยตามที่แถลงต่อศาลและศาลอนุญาตแต่อย่างใด มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมาย ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานแต่ประการใด
58
+ แม้การสืบพยานจะไม่เป็นไปตามที่ คู่ความตกลงกัน ก็มิได้ก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมแก่ฝ่ายจําเลยทั้งสอง มิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติ ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา ๑๐๓/๒, ๑๒๐/๑ และ ๑๒๐/๓ จึงไม่ต้องห้ามรับฟังแต่อย่างใดนะครับ ฎีกานี้ให้ให้ท่านไปมำความเข้าใจ ฎีกาที่ ๔๑/๖๑ ค่อนข้างจะทำความเข้าใจยากนิดหนึ่ง"
59
+ อ่ามาดูคำถามข้อที่ ๒๑. คดีก่อน โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจําเลยหย่ากัน ขอฟ้องหย่าและแบ่ง สินสมรส ศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีเหตุหย่า จึงไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็น สินสมรสที่จะต้องแบ่ง คดีหลัง โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสและให้จําเลยชําระค่าอุปการะ เลี้ยงดู ดังนี้ ฟ้องในคดีหลังเป็นฟ้องซ้ำหรือดําเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่
60
+ มาดูคำตอบ ฎีการที่ ๒๘๕๔/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า “ประเด็นในคดีก่อนมีว่า มีเหตุหย่าหรือไม่นะครับ คดีก่อนประเด็นมีว่า มีเหตุหย่าหรือไม่หากศาล พิพากษาให้หย่าจึงจะมีการแบ่งสินสมรส เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากไม่มีเหตุหย่า จึง ไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่ง ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่า มีเหตุให้แยก สินสมรสหรือไม่ มีเหตุให้แยก สินสมรสหรือไม่
61
+ อ่ามาดูคำถามข้อที่ ๒๑. คดีก่อน โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจําเลยหย่ากัน ขอฟ้องหย่าและแบ่ง สินและจําเลยต้องชําระค่าอุปากระเลี้ยงดูหรือไม่ และสินสมรสที่ต้อง แ���กได้แก่ทรัพย์สินใด ประเด็นแห่งคดีนี้และคดีก่อนจึงต่างกัน แม้ทรัพย์สินที่อ้างตามฟ้องคดีนี้จะเป็นทรัพย์สินตามฟ้องกับคดีก่อน แต่คดีก่อนศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่ต้องแบ่ง ฟ้องโจทก์ในคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดําเนินกระบวนพิจารณาซ้ำนะครับ มีเหตุหย่ากับเหตุแบ่งสินสมรส ประเด็นแห่งคดีนี้และคดีก่อนจึงต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดําเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
62
+ ต่อไปเป็นคำถาที่ ๒๒ การกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้กู้จะนําสืบการใช้เงินว่าได้ชําระหนี้แก่ผู้ให้กู้ โดยการนําเงินสดเข้าบัญชีของผู้ให้กู้ โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือ ชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้ว หรือแทงเพิกถอนในหลักฐานการ กู้ยืมแล้วได้หรือไม่ กู้ยืมมีหลักฐานเป็นหนังสือ มีการชำระหนี้โดยการนำเงินสดเข้าบัญชีนะครับ จะนำสืบไดมั้ยนะครับ
63
+ มีคำตอบที่ ฎีกาที่ ๙๗/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า “การชําระหนี้ผ่านทางธนาคารดังกล่าว โดยไม่ได้ทํานิติกรรม โดยตรงแก่โจทก์ จึงไม่อาจมีการกระทําตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ วรรคสอง ได้ การที่โจทก์เจ้าหนี้ไม่ได้โต้แย้งไม่ได้รับเงิน โจทก์ไม่ได้โต้แย้งไม่ได้รับเงิน
64
+ ถือว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับชําระหนี้อย่างอื่นแทนการ ชําระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.มาตรา ๓๒๑ วรรคหนึ่ง จําเลยมีสิทธินําสืบการชําระหนี้ ให้แก่โจทก์ด้วยการนําเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ได้ นะครับ จำเลยนำสืบได้นะครับว่ามีการฝากเงินเข้าบัญชี เพราะเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นนะครับ ชำระหนี้ด้วยอย่างอื่น
65
+ ต่อไปเป็นคำถามข้อที่ ๒๓ โจทก์ฟ้องให้จําเลยชําระหนี้ตามสัญญากู้เงิน จําเลยให้การว่า จําเลยไม่ได้รับเงิน ตามสัญญากู้ จําเลยไม่ได้รับเงิน ตามสัญญากู้ สัญญากู้เกิดจากการฉ้อฉลโดยโจทก์บีบบังคับหลอกลวง จําเลยจึงลงลายมือชื่อ โดยไม่ได้มีเจตนาผูกพันตามสัญญากู้ ดังนี้ จําเลยนําสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ในคําให้การได้หรือไม่
66
+ ดูคำตอบครับ ฎีกาที่ ๓๔/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า “สัญญากู้ยืมเงินจะบริบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบเงินท���่ยืม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๐ วรรคสอง ตามคําให้การของจําเลยเป็นการปฏิเสธอ้างเหตุความไม่สมบูรณ์ แห่งหนี้
67
+ เป็นคําให้การที่ชอบด้วย ปอวิแพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นถึงความไม่ สมบูรณ์แห่งนี้ การที่จําเลยนําสืบว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ เป็นการนําสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๙๔ วรรคท้าย จําเลยนําสืบได้นะครับ นำสืบว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้นะครับ เป็นการถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๙๔ วรรคท้าย
68
+ คำถามข้อที่ ๒๔ ระยะเวลาในการยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหลังศาล พิพากษาจะต้องยื่นไม่ช้ากว่า ๘ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่ง ข้ออ้างนั้น ตาม ป.วิ. แพ่ง มาตรา ๒๗ หรือไม่
69
+ มาดูทวนคำตอบครับ ฎีกาที่ ๑๕๖๔/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า “ตามมาตรา ๒๗ วรรคสอง กําหนดให้คู่ความที่เสียหายต้องยื่นไม่ช้ากว่า ๘ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่ง ข้ออ้างนั้น ใช้บังคับกับการยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณี ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษานะครับ
70
+ แม้จะทราบหลังศาลพิพากษาแล้วก้ต้องไม่ช้ากว่า ๘ วัน นะครับ นับจากวันที่ทราบข้อความที่ผิดระเบียบ ต่อไปคำถามข้อที่ ๒๕ การขออนุญาตให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๒๔ วรรคท้าย จะต้องยื่นคํา ร้องภายในกําหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือไม่
71
+ ดูคำตอบครับ ฎีกา ๓๔๙/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า “ผู้อุทธรณ์จะต้องยื่นคําร้องภายในกําหนดเวลายื่นอุทธรณ์ จะต้องยื่นคําร้องขออนุญาตให้รับรองว่าให้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่จะยื่นอุทธรณ์นะครับ
72
+ ต่อไปคำถามที่ ๒๖ โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อสอบคําให้การจําเลย ไม่มาในวันนัดพร้อมเพื่อสอบคําให้การจําเลย กําหนดวันนัดสืบพยาน โจทก์ ศาลพิพากษายกฟ้อง ชอบหรือไม่
73
+ ทวนคำตอบครับ ฎีกาที่ ๑.๗๔๖๓/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า “ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๖๖ วรรคหนึ่ง กําหนดว่า ถ้าโจทก์ ไม่มาตามกําหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย ซึ่งคํา��่ากําหนดนัดนั้น หมายถึง กําหนดนัดไต่สวนหรือ กําหนดนัดพิจารณา กําหนดนัดไต่สวนนั้นหรือ กําหนดนัดพิจารณา วันนัดพร้อมเพื่อสอบคําให้การจําเลยและกําหนดวันนัดสืบพยานโจทก์
74
+ จึงมิใช่วันนัดพิจารณาหรือนัดสืบพยานโจทก์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์มาตรา ๑๖๖ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๑๘๑ ที่ ศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาตามกําหนดนัดดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ เอาแล้วครับฎีกานี้กลับหลักคำพิพากษาฑีกาที่ ๗๘๔๖/๒๕๕๙ ซึ่งเคยวินิจฉัยว่าการสอบคําให้การตามมาตรา ๑๗๒ วรรค สอง เป็นการพิจารณาอย่างหนึ่ง การที่โจทก์ไม่มาตามวันนัดสอบคําให้การศาลชั้นต้นยกฟ้องได้ตาม มาตรา ๑๖๖ ประกอบมาตรา ๑๘๑
75
+ ต่อไปเป็นคำถามข้อที่ ๒๗ คดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฉบับที่ ๒๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลบังคับ
76
+ ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ผู้ซื้อทรัพย์สินและเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนทรัพย์สินที่ขายอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ต่อมาผู้ซื้อยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยและบริเวณออกไปจากที่ดินและปลูกสิ่งสร้าง หากศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องจะขออนุญาตยื่นอุทรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามมาตรา ๒๓๓ ทวิได้หรือไม่
77
+ ฎีกาที่ ๔๙๗๖/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า ศาฃแวขงสุพรรณบุรีได้มีคำพิพาษาและคดีถึงที่สุดก่อนที่ พรบ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.แพ่งฉบับที่ ๒๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลใช้บังคับเมื่อ ๘ พ.พย. ๕๘ แต่การที่ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนทรัพย์สินที่ขายอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ร้องแล้วยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลขอให้ออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับจำเลยและบริวารของจำเลยที่ไม่ยอมออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
78
+ เป็นการยื่นฟ้องกล่าวหาจำเลยและบรืวารของจำเลยขึ้นใหม่ ตาม ป.วิแงมาตรา ๓๓๔ บัญญัติไว้เป็นพิเศษ เมื่อวันที่ ๗ ก.ย. ๖๐ ภายหลัง พรบ.ดังกล่าวมีผลบังคับแล้วซึ่ง ป.วิ.แพ่งมาตรา ๒๔๔/๑ ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้คำพิพากษาของศาลอุธรณ์เป็นที่สุด และการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุธรณ์จะกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ตามมาตรา ๒๔๗ ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้นค���ีจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะนำ ป.วิ.แพ่งมาตรา ๒๒ภ ทวิเดิม ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว โดย พรบ.ดังกล่าวมาใช้บังคับได้
79
+ คำถามข้อที่ ๒๘ ถามว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ ๑ ปี ศาลอุทรณ์พิพากษาแก้โดยให้ลงโทษปรับด้วยกระทงลงไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท แต่ให้รอการลงโทษและคุมปะพฤติจำเลยไว้ โจทก์จะฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้หรือไม่
80
+ ฎีกาที่ ๓๗๓๐/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำคำจำเลย ๓ กระทง กระทงละไม่เกิน ๑ ปีรวมจำคุก ๑๕ เดือนแต่ไม่รอการลงโทษ ศาลอุทรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษปรับตัวด้วยกระทงละไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท แล้วรอการลงโทษจำคุกและคุมประพฤติจำเลยไว้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ ๒ ปี และปรับไม่เกินกระทงละ ๔๐,๐๐๐ บาท จึงหามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๒๑๙ โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง"
81
+ ต่อไปคำถามข้อที่ ๒๙ คดีที่มีการร้องสอด แล้วต่อมาโจทก์ถอนฟ้องจำเลยไป หลังจากนั้นศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา หากโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ศาลพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์หรือเพียงแต่ยกคำร้องสอด
82
+ ตรงคำตอบ ฎีกาที่ ๔๓๒/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า ผูเร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา ๕๗ อนุ ๑ แม้โจทก์จะได้ถอนฟ้องจำเลยไปหลังจากนั้น แต่ศาลชั้นต้นก็ดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อมาในฐานะที่โจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันในที่ดินพิพาท ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีและคำขอของโจทก์ที่เดิมของบังคับจำเลยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทนั้นอยู่ในสภาพที่เปิดช่องให้บังคับแก่ผู้ร้องสอดผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้ จึงชอบที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ มิใช่แต่เพียงยกคำร้องสอดของผู้ร้องสอดที่งสามเท่านั้น
83
+ ต่อไปคำถามข้อที่ ๓๐ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ มีคำสั่งย้ายและตัดสิทธิประโยชน์ต่างๆที่โจทก์เคยได้รับโดยมิชอบ ทำให้โจทก์เสียหายขาดโอกาสความก้าวหน้าประโยชน์ต่างๆและให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์ร้องเรียนจำเลยไปยังหลายหน่วยงาน เป็นการจงใจทำให้จำเลย���สียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ขอให้ใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่
84
+ มีคำตอบฎีกา ๘๑๒๒/๒๕๕๙ วินิจฉัยว่า ตามฟ้องโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาการกระทำของฝ่ายจำเลยว่าชอบด้วยกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับหรือไม่ และการประเมินผลงานและการย้ายโจทก์เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ส่วนตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่า การร้องเรียนนของโจทก์เป็นการละเมิดต่อจำเลย แม้ฟ้องเดิมจะมีคดีอันเกืดจากม฿ลละเมิดรวมอยู่ด้วย แต่ประเด็นตามฟ้องแย้งและฟ้องเดิมไม่เกี่ยวข้องกันไม่อาจพิจารณารวมกันได้ ฟ้องแย้งและฟ้องเดิมไม่เกี่ยวข้องกัน
85
+ ต่อไปข้อ ๓๑ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ โดยไม่ได้ยื่นเสียก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๗ วัน อันเป็นการเพิ่มเติมคำให้การขึ้นใหม่ในประเด็นอายุความตามที่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว ดังนี้จะถือเป็นการแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อย หรือมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่
86
+ มีคําพิพากษาฎีกาที่ ๖๙๕๑ ถึง ๖๙๕๒/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า “จําเลยขอแก้อายุความจากเดิม ๒ ปี เป็น ๕ ปี และ ๒ ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๓ และ ๑๙๓/๓๔ อันเป็นการเพิ่มเติมคําให้การขึ้นใหม่ แม้จะอยู่ในประเด็นแห่งอายุความ แต่โจทก์ก็สามารถกระทําได้แต่แรก
87
+ แต่หาได้กระทําไม่ กลับปล่อยให้ล่วงเลยเวลาแล้วจึงยื่นคําร้องขอแก้ไขคําให้การ มีลักษณะเป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ทั้งฉบับ มิใช่เป็นการแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อยและมิใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคําร้องได้ก่อนนั้น ทั้งประเด็นเรื่องอายุความไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย อายุความไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จึงต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานถือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๗ วัน ม.๑๘๐
88
+ คำถามข้อ ๓๒ คนไร้ความสามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลเป็นการกระทำโดยมีอำนาจหรือไม่ หรืเป็นเพียงข้อบกพร่องที่สามารถแก้ไขให้บริบูรณ์ได้หรือไม่ คนไร้ความสามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีต่อศาลนะครับ คดีอาญา ตรงค���ตอบ ฎีกา ๓๗๒๗/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า เป็นการกระทำโดยโจทก์ซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ ต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำการแทนตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๓ อนุ ๒ และมาตรา ๕ อนุ ๑
89
+ กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์และจำต้องแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควร ตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๕๖ ประกอบ ป.วิ.อาญามาตรา ๑๕ เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้นแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์ กรณีนี้ไม่ใช่ข้อบกพร่องเรื่องความสามารถแต่เป็นกรณีที่เป็นไม่มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้นนะครับ
90
+ คำถามข้อที่ ๓๓ โจทก์เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยฟ้องขอเพิกถอนการให้ที่ดินรวม ๓ แปล กล่าวหาว่าจำเลยดูหมิ่นโจทย์ผู้ให้อย่างร้ายแรง อันเป็นการประพฤติเนรคุณ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยมิได้ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์และที่ดินบางโฉนดไม่ใช่ที่ดินขิงโจทก์แต่เป็นทรัพย์มรดกของมารดาจำเลย ดังนี้ การพิจารณาสิทธิในการอุทรณ์ในข้อเท็จจริง จะต้องแยกคำนวณราคาที่ดินพิพาทแต่ละแปลงหรือคำนวณรวมกันตามราคาประเมินทั้ง ๓ แปลงหรือเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวหรือไม่
91
+ คำถามมี ๓ ประเด็นคือ ต้องแยกคำนวณราคาที่ดินแต่ละแปลงหรือไม่ หรือคำนวณรวมกันหรือเป็นคดีเกี่ยวเนื่องสิทธิในครอบครัวหรือไม่ มาดูตรงคำตอบ ๙๙๒๔/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นคดีมีทุนทรัพย์และต้องแยกพิจารณาทุนทรัพย์ที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกัน ส่วนคดี ส่วนคดีเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ มิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวจึงต้องห้ามคู่ความอุทรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจาม ป.วิ.แพ่งมาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง
92
+ คำถามข้อที่ ๓๔ การถอนฟ้องคดีแพ่ง วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ฌฉพาะก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเท่านั้น เพราะมาตรา ๑๗๕ วรรคหนึ่งกำหนดว่า ก่อนจำเลยยื่นคำให้การโจทก์อาจถอนฟ้องได้โดยยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ฯ
93
+ เพราะตามมาตรา ๑๗๕ วรรค ๑ ก่อนจำเลยยื่นคำให้การโจทก์อาจถอนฟ้องได้โดยการยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือ และตามวรรค ๒ กำหนดว่าภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้วโจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อนุญาตให้ถอนฟ้องได้การยื่นคำให้การก็ต้องกระทำในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณานั้นเอง
94
+ ต่อไปเป็นข้อ ๓๕ คำของผู้เสียหายที่เปิกความในชั้นพิจารณาและให้การชั้นสอบสวนว่า จำเลยเคยลักทรัพย์ของผู้เสียหายมาก่อนหน้านี้ จำเลยเคยลักทรัพย์ของผู้เสียหายมาก่อนหน้านี้ จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ในคดีที่ถูกฟ้องได้หรือไม่ ก็คือเอาการกระทำความผิดครั้งก่อนมาวินิจฉัยว่าเป็นคนร้ายในคดีนี้ได้ไหม
95
+ ฎีกาที่ ๔๑๗/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า ไม่อาจนำมารับฟังเป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะว่าเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้กับความประพฤติในเสื่อมเสียของจำเลยต้องห้ามตาม ป.ว.อาญามาตรา ๒๒๖/๒
96
+ คำถามข้อที่ ๓๖ ถามว่าคดีอาญา ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา อันนี้โจทก์ฎีกานะครับ จำเลยยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพจะกระทำได้ไหม ระว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยยื่นคำร้องขอให้รับสารภาพ จะกระทำได้หรือไม่ ฎีกาที่ ๑๖๘/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่าการแก้ไขคำให้จำเลยสามารถยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเท่านั้น
97
+ คือขอแก้ไขคำให้การต้องการศาลชั้นต้นพิพากษาเท่านั้นแต่อย่างไรก็ดีการที่จำเลยขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกาถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงโดยไม่โต้แย้งที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิด แม้จพกระทำไม่ได้เป็นการแก้คำให้การไม่ได้แต่ว่าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงโดยไม่โต้แย้งที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิด
98
+ ต่อไปคำถามข้อที่ ๓๗ คำให้การสอบสวนเพิ่มเติม พนักงงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๑๓๔/๑ วรรคหนึ่ง จะทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนในครั้งแรกที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเสียไปด้วยหรือไม่ ฏีกาที่ ๕๕๘๐/๒๕๖๐ บอกว่าไม่เสียไป วินิจฉัยดังนี้ ไม่ได้ทำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยในครั้งแรกที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้นเสียไปด้วยแต่อย่างใด เพียงแต่ทำให้การเพิ่มเติมไม่อาจรับฟังเป็ยพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยเท่านั้นตาม มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย
99
+ คำถามข้อที่ ๓๘ หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินระบุราคาขายฝากและสินไถ่ไว้แล��ผู้ขายฝากได้รับเงินจากผู้รับซื้อฝากเป็นการเสร็จแล้ว ผู้ขายฝากจะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ราคาขายฝากที่แท้จริงมิใช่ตามที่ระบุในหนังสือสัญญาขายฝากและได้รับเงินตามสัญญาขายฝากไม่เต็มจำนวนได้หรือไม่
100
+ คำตอบฎีกาที่๑๕๖/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า “โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนที่ดิน พิพาทระหว่างจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องร้องขอให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนที่ดินไม่ได้บังคับตามสัญญาให้ ที่โจทก์กับจําเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญา
101
+ ต่อไปเป็นคำถามข้อที่ ๔๑ ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดว่า ในการเรียกให้ชําระหนี้และ ติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีหนังสือแจ้งเตียนผู้บริโภคที่ผิดนัดชําระหนี้ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน ก่อนดําเนินการบังคับชําระหนี้ตามกฎหมาย ผู้ประกอบธุรกิจจะนําพยานบุคคลมาสืบโดยมิได้นําหนังสือทวงถามมาแสดงต่อศาลได้หรือไม่
102
+ มีฎีกาที่ ๑๕๖/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า “ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็น ข้อเท็จจริง ไม่ใช่บทบัญญัติของกฎหมายที่ ป.วิ.แพ่ง.มาตรา ๙๔ บังคับให้ต้องมีพยาน เอกสารมาแสดง ไม่ใช่บทบัญญัติของกฎหมายที่ ป.วิ.แพ่ง.มาตรา ๙๔ บังคับให้ต้องมีพยาน เอกสารมาแสดงสามารถนําพยานเอกสารมาแสดง แม้โจทก์จะมิได้นําหนังสือทวงถามมาแสดงต่อศาล ก็รับฟัง พยานบุคคลแทนพยานเอกสารได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๙๔(ก) นะครับ
103
+ ต่อไปเป็นคำถามข้อที่ ๔๒ โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแขวง เรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดเป็นเงินจํานวนไม่เกิน พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันทําละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะ ชําระเสร็จ ดังนี้ ต้องนําดอกเบี้ยซึ่งคิดคํานวณนับแต่วันทําละเมิดจนถึงวันฟ้องมารวมเป็น จํานวนเงินที่ฟ้องด้วยหรือไม่ ต้องนําดอกเบี้ยซึ่งคิดคํานวณนับแต่วันทําละเมิดจนถึงวันฟ้องมารวมเป็น จํานวนเงินที่ฟ้องด้วยหรือไม่ ต้องนําดอกเบี้ยที่คํานวณนับแต่วันทําละเมิดจนถึงวันฟ้องมารวมด้วยมั้ยนะครับ
104
+ ต่อไปคําถามข้อที่ ๔๓ ศาลชั้นต้นพิพากษาจําคุกจําเลย ๒ กระทง กระทงละ ๑ ปี โดยมีผู้พิพากษาลง ลายมือชื่อในคําพิพากษาเพียงคนเดียว คําพ���พากษาศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
voice_test.csv ADDED
@@ -0,0 +1,24 @@
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1
+ original_text
2
+ สวัสดีครับ วันนี้มีฎีกาที่น่าสนใจมาฝากอีกแล้วนะครับ เป็นคําพิพากษาฎีกาที่ 3225/2563 ระหว่างนางสาวอ.อ่าง ผู้ร้องนายอ. ขออภัยครับ ระหว่างนางสาวส.เสือ ผู้ร้อง นายอ.อ่าง จําเลยแล้วก็พนักงานอัยการเป็นโจทก์นะครับ
3
+ เรื่องนี้เนี่ยเป็นกรณีที่น้องสาวของผู้ตายนะครับ น้องสาวของผู้ตายยื่นคําร้องขอให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้ตายชื่อนายจรัญ ขออภัยครับ ผู้ตายชื่อนายประจักษ์ ผู้ตายชื่อนายประจักษ์ถูกทําร้ายถึงตายถูกนายจรัญกับพวกทําร้ายถึงตาย
4
+ พนักงานอัยการยื่นฟ้องข้อหาทําร้ายร่างกายนะครับร่วมกันทําร้ายร่างกายตามมาตรา 290 แต่เนื่องจากผู้ตายไม่มีญาติพี่น้องไม่มีลูก พ่อแม่ก็เสียชีวิตหมดแล้ว ไม่มีภรรยา มีแต่น้อง น้องก็คือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันนะครับ
5
+ คดีนี้มีประเด็นน่าสนใจว่า น้องสาวของผู้ตายเนี่ยมีอํานาจร้องขอให้จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ ซึ่งฎีกานี้น่าสนใจมากๆ ในประเด็นเรื่องข้อกฎหมายนะครับ
6
+ "เป็นเรื่องตาม เป็นเรื่องละเมิดตามมาตรา 420 ของกฎหมายแพ่ง 443, 1629, 1649 วรรคสอง ส่วนในเรื่องของป.วิ.อ. เป็นเรื่องผู้เสียหายมีอํานาจจัดการแทนผู้เสียหายและผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ค่าสินไหมทดแทนคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา มาตรา 2 อนุ 4 มาตรา 5 อนุ 2 มาตรา 30, 44/1 และ 46 "
7
+ "เดี๋ยวมาดูฎีกาย่อนะครับ ศาลฎีกาวินิจฉัยในฎีกาย่อไว้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้มีคําอธิบายคําว่าผู้เสียหายไว้ในมาตรา 2 อนุ 4 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้เสียหายหมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 "
8
+ แต่ข้อความตามมาตรา 44/1 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้นั้น ย่อมมีความหมายในตัวว่าหมายถึง ผู้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน จึงมีความหมายที่แตกต่างเกินกว่าความหมายของผู้เสียหายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 อนุ 4 ถือได้ว่าขัดกัน การตีความคําว่าผู้เสียหายตามมาตรา 44/1 จึงไม่ต้องถือตามความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 2 อนุมาตรา 4
9
+ ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 1 ที่บัญญัติว่าในประมวลกฎหมายนี้ถ้าคํ���ใดมีคําอธิบายไว้แล้วให้ถือตามความหมายดังได้อธิบายไว้เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคําอธิบายนั้น
10
+ ดังนั้นการพิจารณาว่าผู้ใดจะมีสิทธิยื่นคําร้องขอให้จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากสิทธิในทางแพ่งไม่ใช่กรณีที่จะนําความหมายของคําว่าผู้เสียหายในทางอาญา เช่น เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้มีอํานาจจัดการแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 4 อนุ 2 มาใช้บังคับ
11
+ ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคําร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 30 จึงไม่ต้องพิจารณาว่าผู้ร้องมีอํานาจจัดการแทนผู้เสียหายตามป.วิ.อ. มาตรา 5 หรือไม่ โดยผู้ร้องยื่นคําร้องขอให้จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามป.วิ.อ.มาตรา 44/1 ซึ่งในการพิพากษาคดีในส่วนแพ่งนั้นศาลจําต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญาตามมาตรา 46
12
+ เมื่อข้อเท็จจริงคดีส่วนอาญาฟังยุติตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้วว่าจําเลยมีความผิดฐานร่วมกันทําร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย จําเลยจึงเป็นผู้ทําละเมิดต่อผู้ตายจําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
13
+ กรณีทําให้เขาถึงตายนั้นค่าสินไหมได้ทดแทนได้แก่ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจําเป็นอย่างอื่นอีกด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชมาตรา 420 และ 443 เมื่อผู้ตายมีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสไม่มีบุตรด้วยกัน และบิดามารดาผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว
14
+ ครับ สวัสดีคุณผู้ชมมติชนทีวีที่ติดตามอยู่ทั้งทางเฟสบุ๊คไลฟ์และทางยูทูปนะครับ ก็วันนี้ผมธีรภัทร อรุณรัตน์ผู้สื่อข่าวจากมติชนทีวีนะครับ รายงานสดจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญนะครับ ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนธรรม แจ้งวัฒนะนะครับ ขออภัยครับ ขณะนี้เวลาสิบสี่นาฬิกาสี่สิบแปดนาทีนะครับ
15
+ อีกราวๆสิบห้านาทีนะครับจะเป็นการอ่านคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งเก้าท่านนะครับต่อวาระการดำรงตำแหน่งแปดปีของคุณประยุทธ์ จันทร์โอชานะครับ ซึ่งหลังจากพรรคร่วมฝ่ายค้านนะครับยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภานะครับคุณชวน หลีกภัยให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นที่มาของการอ่านคําวินิจฉัยตัดสินในวันนี้นะครับ
16
+ บรรยากาศข้างหลังผมนะครับจะเห็นได้ว่ามีจอโทรทัศน์นะครับ ซึ่งทางศาลรัฐธรรมนูญนะครับไม่ได้อนุญาตให้เข้าไปทําข่าวข้างในห้องพิจารณาคําตัดสินนะครับ จึงมีการส่งถ่ายทอดสัญญาณออกมาทั้งในตัวยูทูปนะครับและบริเวณโทรทัศน์และลําโพงข้างหน้าเพื่อให้ผู้สื่อข่าวได้รายงานข่าวนะครับ คุณผู้ชมสําหรับบรรยากาศในภาพรวมวันนี้นะครับ
17
+ ทั้งตัวศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะเองนะครับ หลังจากการประกาศของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยนะครับ รายงานข่าวในช่วงเช้านะครับ มีรายงานว่าทางเจ้าหน้าที่ตํารวจกว่าสามร้อยราย สามร้อยนายนะครับได้เข้ามาประจําการเพื่อรักษาความปลอดภัยและการเข้ามาทําข่าววันนี้ของทีมมติชนทีวีก็ต้องมีการตรวจตราและผ่านการแลกบัตรประจําตัวด้วยครับ คุณผู้ชมสําหรับนอกเหนือจากบรรยากาศที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนธรรม แจ้งวัฒนะนะครับ ขออภัย
18
+ อยากจะชวนคุณผู้ชมนะครับดูบรรยากาศของภาพประชาชนที่หลักๆวันนี้มีการเคลื่อนไหวของอย่างน้อยสองกลุ่มนะครับคือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มราษฎรจากการประกาศของทั้งกลุ่มทะลุฟ้านะครับและกลุ่มธรรมศาสตร์ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่นัดหมายการชุมนุมบริเวณสกายวอร์คแยกประทุมวันตั้งแต่เวลาสิบสี่นาฬิกาตรงนะครับ เพื่อรับฟังคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญพร้อมกัน
19
+ และหลังจากนั้นเวลาสิบหกนาฬิกานะครับ ทางกลุ่มแกนนําเข้าใจว่าจะมีการประกาศท่าทีและประกาศแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไปนะครับ ส่วนที่สองนะครับเป็นการนัดหมายของคุณจตุพร พรหมพันธุ์นะครับในนามกลุ่มหลอมรวมประชาชนประเทศไทยต้องมาก่อนนะครับเวลาสิบเจ็ดนาฬิกาที่แยกราชประสงค์นะครับ
20
+ ในสองกลุ่มนี้นะครับทางทีมข่าวมติชนทีวีได้ส่งทีมงานได้เข้าร่วมติดตามสถานการณ์และจะรายงานให้คุณผู้ชมทราบเป็นลําดับถัดไปนะครับ ซึ่งกลับมาที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะของเรานะครับขณะนี้ก็อีกไม่เกินสิบนาทีครับคุณผู้ชมที่เราจะได้รับฟังคําวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งเก้าท่านนะครับ
21
+ ที่เข้าใจว่าจะเป็นการกําหนดทั้งอนาคตของประเทศไทยทั้งอนาคตของคุณประยุทธ์หลังจากอีกไม่กี่นาทีที่จะถึงนี้นะครับ แต่ก่อนที่เราจะไปรับฟังคําวินิจฉัยของศาลนะครับอยากจะชวนคุณผู้ชมนะครับย้อนไทม์ไลน์คดีวาระการดํารงตําแหน่งนายกรัฐนมตรีแปดปีคร่าวๆ
22
+ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม นะครับ 2565 ที่พรรคฝ่ายค้านโดยนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้วนะครับและตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้านได้เข้ายื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภานะครับคือ คุณชวน หลีกภัย นะครับเพื่อให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นที่มาของการอ่านคําวินิจฉัยกรณีแปดปีวาระการดํารงตําแหน่งในวันนี้นะครับ
23
+ และต่อมานะครับในวันที่ 22 สิงหาคม มีรายงานข่าวว่าทางสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญนะครับได้รับเรื่องของพรรคร่วมฝ่ายค้านแล้ว หลังจากนั้นนะครับในวันที่ 24 สิงหาคม นะครับซึ่งเป็นหมุดหมายสําคัญที่ทางสังคมทางพรรคการเมืองเองก็ได้ชี้ให้เห็นว่าเป็นวันสุดท้ายของการดํารงตําแหน่งของคุณประยุทธ์ จันทร์โอชาในฐานะนายกรัฐนมตรี
24
+ นับตั้งแต่การขึ้นสู่ตําแหน่งในวันที่ 24 สิงหาคมนะครับ หลังการรัฐประหาร 2557 นะครับซึ่งในวันนี้นะครับที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญนะครับได้รับคําร้องและเอกสารคําร้องของพรรคร่วมฝ่ายค้านไว้พิจารณานะครับด้วยมติเก้าต่อศูนย์นะครับ